โมล คือ หน่วยของปริมาณสารหน่วยหนึ่งที่มีความหมายเช่นเดียวกับกรัมโมเลกุล กรัมอะตอมหรือกรัมไอออน มีวิธีหาได้ 3 แบบ ดังต่อไป
1. จำนวนอนุภาคต่อโมลของสาร
สสารทุกชนิด 1 โมลมีจำนวน 6.023 x 10 23 อนุภาค (6.023 x 10 23 คือเลขอาโวกาโดร)
อนุภาค คือ อะตอมโมเลกุล ไอออน อิเล็กตรอน เป็นต้น
- ธาตุ เช่น Na 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 10 23 โมเลกุล หรือ 6.023 x 10 23 อะตอม Na + 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 10 23 ไอออน
Cl 2 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 10 23 โมเลกุล หรือ 2 x 6.023 x 10 23 อะตอม ( 1 โมเลกุลมี 2 อะตอม),
Cl - 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 10 23 ไอออน
- สารประกอบ เช่น SO 3 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 10 23 โมเลกุล หรือ 4 x 6.023 x 10 23 อะตอม (SO 3 1 โมเลกุลประกอบด้วย H 2 อะตอม S 1 อะตอม และ O 4 อะตอม รวมเป็น 7 อะตอม)
2. จำนวนโมลกับมวลของสาร
โมล = มวลสาร / มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล
มวลโมเลกุลหรือมวลอะตอม = มวล( กรัม)
มวลโมเลกุลหรือมวลอะตอม = มวล( กรัม)
ดังนั้น มวลหรือน้ำหนักของสาร 1 โมล คือมวลโมเลกุลหรือมวลอะตอม ตัวอย่าง เช่น O 2 1 โมล หนัก 32 กรัม จงหามวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน เมื่อกำหนดให้มวลอะตอมของ O = 16
1 โมล = 32 / มวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน
มวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน = 32 g
ดังนั้น มวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน = 32
จะเห็นว่ามวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนมีค่าเท่ากับน้ำหนักของก๊าซออกซิเจน
3. ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ
ก๊าซทุกชนิด 1 โมล มี 22.4 ลูกบาศก์เซนติเมตรที่ STP คือที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ( ที่ 0 องศาเซลเซียส 1 บรรยากาศ หรือ 273 เคลวิน 760 มิลลิเมตรของปรอท)
ตัวอย่าง เช่น ไอน้ำ 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร ที่ STP
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมล อนุภาค มวล และปริมาตร
สาร 1 โมลจะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอมและมีจำนวนอนุภาคเท่ากับ 6.023 x 10 23 อนุภาค และถ้าสารนั้น เป็นก๊าซที่ STP จะมีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร
ตัวอย่าง จงหาปริมาตรที่ STP ของก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) 7.3 กรัม
โมล = 7.3 g / 36.5 g = 0.2
ก๊าซ HCl 1 โมล มีปริมาตร 22.4 dm 3 ที่ STP
ก๊าซ HCl 0.2 โมล มีปริมาตร 22.4 x 0.2 = 4.48 dm 3 ที่ STP
ดังนั้น ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ 7.3 g มีปริมาตร 4.48 dm 3 ที่ STP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น